เทคนิคต่าง ๆ

ในการใช้อุปกรณ์วิทยาศาสตร์

 

การกำจัดสารเคมี การคนสาร
การใช้แว่นขยาย การให้ความร้อนแก่ของเหลว
การเขย่าหลอดทดลอง การใช้กระดาษลิตมัส
การใช้ที่หนีบหลอดทดลอง การดมกลิ่นสาร
การถ่ายเทสารเคมี การวัดความสูงและความยาว
การระเหยสาร การให้ความร้อนของเหลวที่ไม่ติดไฟ
การใช้เครื่องชั่ง การทำความสะอาดเครื่องแก้ว
การผสมสารละลายในหลอดทดลอง การนำของแข็งออกจากขวด

 

การกำจัดสารเคมี

สารเคมีที่ไม่ใช้แล้วเนื่องจากการเสื่อมสภาพเพราะหมดอายุการใช้งาน สารเคมีที่เป็นของเสียจากการทดลอง และสารที่ไม่มีฉลากกำกับหรือฉลากกำกับชำรุดเสียหาย ไม่ควรเก็บสะสมไว้เพราะอาจมีการนำกลับมาใช้อีกครั้งโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ได้ สารเคมีที่ไม่ต้องการใช้เหล่านี้ไม่ว่ามีปริมาณมากน้อยเพียงใด เมื่อต้องการกำจัดจะต้องทำให้ถูกวิธีและหลักการเสมอ มิฉะนั้นจะก่อให้เกิดอันตรายต่อตนเองและผู้อื่น นอกจากนี้ยังอาจทำให้เกิดมลพิษต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมได้อีกด้วย
สารเคมีแต่ละชนิดจะมีสมบัติแตกต่างกัน การกำจัดจึงต้องเลือกทำด้วยวิธีการที่เหมาะสม ด้วยวิธีการต่อไปนี้
1. ค่อย ๆ เติมสารเคมีนั้นอย่างช้า ๆ ลงบนโซดาแอช หรือปูนขาวที่แห้งและมากเกินพอแล้วจึงนำไปฝังดิน
2. ใช้สารอื่นดูดซับแล้วเก็บรวบรวมเพื่อนำไปเผา ( ในกรณีที่เป็นของเหลวระเหยง่าย อาจใช้ขี้เลื่อยดูดซับ )
3. ผสมกับทรายหรือปูนขาวแล้วนำไปฝังดิน
4. ทำให้เจือจางด้วยน้ำปริมาณมาก ๆ แล้วปล่อยลงสู่ท่อระบายน้ำ
5. ละลายในกรดหรือเบสเพื่อทำลายสมบัติหรือทำให้สะเทิน แล้วทำให้เจือจางด้วยน้ำก่อนปล่อยลงสู่ท่อระบายน้ำ
6. สารละลายในตัวทำละลายที่ติดไฟได้ เช่น แอลกอฮอล์ แล้วเผาในเตาเผาขยะ
7. ผสมกับตัวรีดิวซ์ที่เหมาะสม แล้วทำให้เจือจางด้วยน้ำปริมาณมากเกินพอก่อนปล่อยลงสู่ท่อระบายน้ำ
8. เผาในหลุมดินพร้อมกับกระดาษหรือไม้แล้วกลบให้มิดชิด
9. ใช้วิธีการเฉพาะกับสารเคมีซึ่งต้องใช้คำปรึกษาจากผู้แทนจำหน่าย

การคนสาร

ทำได้โดยการใช้แท่งแก้วคนสารโดยต้องระมัดระวังไม่ให้แท่งแก้วกระทบด้านข้างและก้นของภาชนะ เมื่อใช้แล้วทุกครั้งจะต้องล้างแท่งแก้ว เช็ดให้แห้งแล้วเก็บเข้าที่ และต้องไม่ใช้แท่งแก้วไปคนสารต่างชนิดกันในภาชนะต่างกันก่อนทำความสะอาด

การใช้แว่นขยาย

เมื่อจะตรวจดูรายละเอียดของวัตถุด้วยแว่นขยายโดยทั่วไป ต้องถือแว่นขยายให้ชิดกับตาข้างหนึ่ง แล้วเลื่อนวัตถุจนมองเห็นได้ชัดที่สุด ห้ามขูดขีดแว่นขยาย เมื่อใช้เสร็จแล้วต้องเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย

การให้ความร้อนแก่ของเหลว

แบ่งตามสมบัติของของเหลวได้เป็น
1. ของเหลวชนิดไวไฟซึ่งมีจุดเดือดต่ำ ส่วนมากจะบรรจุในภาชนะปากแคบและทรงสูง เช่น หลอดทดลองหรือขวดรูปกรวย ไม่ควรใส่ในบีกเกอร์ขณะให้ความร้อน และห้ามใช้เปลวไฟให้ความร้อนโดยตรง วิธีที่ถูก คือ ให้อุ่นในภาชนะที่ใส่น้ำและต้มให้เดือดด้วยไออ่อน ๆ และควรระวังไม่ให้ของเหลวที่ไวไฟนั้นเดือดล้นหรือกระเด็นหกออกมาโดนเปลวไฟ เพราะอาจติดไฟและเป็นอันตรายได้ การให้ความร้อนแก่สารไวไฟนี้ควรทำในห้องโล่งหรืออากาศถ่ายเทได้สะดวก เพราะในที่ที่อากาศไม่ถ่ายเท เมื่อของเหลวได้รับความร้อนจะกลายเป็นไอสะสมอยู่บริเวณนั้น ถ้ามีมาก ๆ อาจติดไฟหรือระเบิดได้
2. ของเหลวชนิดไม่ไวไฟ ใช้บรรจุในภาชนะได้หลายชนิดตามจุดประสงค์ และปริมาณของสาร เช่น ชามกระเบื้อง หลอดทดลอง ขวดรูปกรวย หรือบีกเกอร์ เป็นต้น การให้ความร้อนแก่ของเหลวในชามกระเบื้องและหลอดทดลองค่อนข้างเป็นอันตรายกว่าในขวดรูปกรวยหรือบีกเกอร์ จึงต้องระมัดระวังและปฏิบัติดังนี้ สำหรับชามกระเบื้องไม่ควรใส่ของเหลวมากเกินไป ควรคนตลอดเวลาเพื่อป้องกันการเดือดและกระเด็น สำหรับหลอดทดลองไม่ควรใส่ของเหลวเกินครึ่งหลอด และควรใช้เปลวไฟอ่อน ๆ โดยใช้ที่จับหลอดทดลองจับหลอดให้อยู่ในลักษณะเอียงประมาณ 45 องศา เขย่าเล็กน้อย และหันปากหลอดไปทางด้านที่ไม่มีคน
สิ่งสำคัญที่ควรปฏิบัติในการให้ความร้อนแก่สารเคมี คือ เมื่อไม่ต้องการใช้ความร้อนหรือสังเกตพบว่าอุณหภูมิมากจนทำให้สารเดือดแรงเกินไป ให้ดับตะเกียงหรือเลื่อนตะเกียงออกทุกครั้ง หรือถ้าหยิบภาชนะใส่สารออกจากเปลวไฟได้สะดวกกว่าเลื่อนหรือดับตะเกียง ก็ให้เลื่อนภาชนะใส่สารออกจากเปลวไฟ

การเขย่าหลอดทดลอง

การเขย่าหลอดทดลองทำได้โดยใช้มือจับหลอดทดลองแล้วเขย่าให้ส่วนล่างของหลอดทดลองกระแทกกับฝ่ามืออีกข้างหนึ่งเบา ๆ 

การใช้กระดาษลิตมัส

กระดาษลิตมัสมีไว้สำหรับทดสอบความเป็นกรด - เบส ของสาร การใช้กระดาษลิตมัสต้องใช้ทีละแผ่น โดยตัดขนาดพอเหมาะกับที่จะใช้ มือที่หยิบต้องสะอาดและแห้ง ถ้าจะทดสอบกับของเหลว ต้องวางกระดาษลิตมัสบนถ้วยกระเบื้อง แผ่นกระจก หรือกระดาษที่สะอาด แล้วใช้แท่งแก้วสะอาดจุ่มของเหลวมาแตะ

การใช้ที่หนีบหลอดทดลอง

การใช้ไม้หนีบกับหลอดทดลอง ต้องหนีบที่ระยะประมาณ 1 ใน 3 จากปากหลอดทดลอง เมื่อหนีบบีกเกอร์หรือถ้วยกระเบื้องจะต้องหนีบให้ลึก และขณะถือต้องไม่ออกแรงกดไม้หนีบ ส่วนในกรณีที่ใช้ยึดกับขาตั้งเพื่อหนีบเทอร์มอมิเตอร์ จะต้องใช้เศษผ้าหรือกระดาษชำระหุ้มเทอร์มอมิเตอร์ให้แน่นเสียก่อน

การดมกลิ่นสาร

สารเคมีหลายชนิดมีกลิ่นเฉพาะตัว การดมกลิ่นอาจช่วยบอกชนิดของสารบางชนิดได้ ไอ กลิ่น ที่ออกมาจากสารเคมีบางชนิดมีอันตราย ดังนั้น จึงควรระมัดระวังในการดมกลิ่นสาร
ข้อควรปฏิบัติในการดมกลิ่นสาร มีดังนี้
- อย่าสูดดมกลิ่นของสาร ไอ หรือควันโดยตรง
- ควรใช้มือข้างหนึ่งถือภาชนะ โดยให้ปากภาชนะอยู่ในระดับต่ำกว่าจมูกและอยู่ห่างจากจมูกพอสมควร ใช้มืออีกข้างหนึ่งโบกให้ไอของสารผ่านเข้าจมูกช้า ๆ 

การถ่ายเทสารเคมี

ในการทำการทดลองทางเคมีจะต้องมีการถ่ายเทสารเพื่อนำมาใช้ในการทดลอง สารเคมีที่ใช้ในห้องปฏิบัติการมีทั้ง 3 สถานะ คือ ของแข็ง ของเหลว และก๊าซ ในที่นี้จะศึกษาเฉพาะวิธีถ่ายเทสารที่เป็นของแข็งและของเหลว ซึ่งใช้กันอยู่เป็นส่วนใหญ่ในการทดลองระดับมัธยมศึกษา ปกตดสารที่เป็นของแข็งมักบรรจุอยู่ในขวดหรือภาชนะปากกว้าง ส่วนสารที่เป็นของเหลวมักบรรจุในขวดปากแคบ การถ่ายเทสารจากภาชนะบรรจุเพื่อนำไปใช้งานต้องทำอย่างถูกวิธีด้วยความระมัดระวัง เพื่อป้องกันการเกิดมลพิษกับสารและเกิดอันตรายกับผู้ใช้ และเมื่อตักหรือเทสารใช้แล้วต้องปิดจุกให้แน่นเพื่อป้องกันความชื้นและฝุ่นละออง ก่อนนำสารไปใช้ทุกครั้งต้องอ่านชื่อสารบนขวดให้แน่ใจว่าเป็นสารชนิดที่ต้องการ
หมายเหตุ : ในการถ่ายเทสารบางครั้ง อาจจะต้องใช้ภาชนะหรือวัสดุรองรับสาร ภาชนะที่ใช้รองรับสารอาจเป็นบีกเกอร์ขนาดเล็ก ถ้วยกระะเบื้อง กระจกนาฬิกา หรืออาจใช้สิ่งรองรับอื่น เช่น กระดาษเคลือบไขสำหรับใช้ชั่งสาร หรือกระดาษขาวที่ผิวมัน แต่ไม่ควรใช้กระดาษกรอง เพราะสารอาจจะติดที่กระดาษกรองหรือถูกดูดซับไว้ได้ และนอกจากนี้กระดาษกรองยังมีราคาแพงอีกด้วย
1. การถ่ายเทสารเคมีที่เป็นของแข็ง ทำได้หลายวิธี เช่น
วิธีที่ 1 
- เอียงขวดใส่สาร แล้วหมุนกลับไปมาให้สารในขวดเข้าไปอยู่ในจุกหรือฝาขวด ถ้าสารในขวดเกาะเป็นก้อนแข็ง อาจต้องเขย่าหรือเคาะขวดเล็กน้อยเพื่อให้สารหลุดออกจากกัน ( ถ้าจำเป็นอาจต้องเปิดขวดแล้วใช้ช้อนที่สะอาดขูดหรือบดให้เป็นผงร่วน )
- เปิดจุกขวดออกพร้อมกับตั้งขวดขึ้น โดยให้สารส่วนหนึ่งค้างอยู่ในจุกขวด
- วางขวดลงบนโต๊ะ และเอียงจุกขวดที่มีสารติดค้างอยู่ลงบนภาชนะที่จะใส่สารใช้นิ้วมือหรืดินสอเคาะจุกขวดเบา ๆ เพื่อให้สารหลุดออกจากจุกขวดหรือฝาขวดตามบริเวณที่ต้องการ
วิธีที่ 2
- ค่อย ๆ เปิดจุกขวด หงายจุกวางไว้บนโต๊ะ
- ใช้ช้อนตักสารที่แห้งและสะอาดตักสารในขวดและใช้นิ้วมือหรือก้านดินสอเคาะก้านช้อนเบา ๆ เพื่อเทสารในช้อนออกตามปริมาณที่ต้องการ ถ้าเป็นช้อนที่มีเบอร์สำหรับตวงสารปริมาณต่าง ๆ กันให้ตักสารก่อนแล้วจึงใช้ด้ามช้อนอีกด้ามหนึ่งปาดผิวหน้าให้เรียบโดยไม่ต้องกดให้แน่นจะได้สาร 1 ช้อนในปริมาณตามเบอร์นั้น ๆ 
วิธีที่ 3
- เคาะก้นขวดกับโต๊ะเบา ๆ พร้อมกับหมุนขวดไปมาเพื่อให้สารที่เกาะกันเป็นก้อนภายในขวดหลุดออกจากกัน
- เปิดจุกขวดออกวางหงายบนโต๊ะ
- เอียงขวดพร้อมกับหมุนไปมาเพื่อเทสารออกจากขวดทีละน้อยจนได้ปริมาณตามต้องการ ( ถ้าจำเป็นอาจใช้แท่งแก้วที่แห้งและสะอาดช่วยเขี่ยสารให้ไหลออกมาตามต้องการ ) 
2. การถ่ายเทสารเคมีที่เป็นของแข็งลงในหลอดทดลอง
วิธีที่ 1
- ใช้ช้อน ( สำหรับตวงสาร ) ที่แห้งและสะอาด ตักสารออกจากขวด แล้วสอดช้อนเข้าในหลอดทดลองพร้อมกับเทสารออกจากช้อนลงสู่หลอดทดลอง
วิธีที่ 2
( ใช้ในกรณีที่สารไม่ดูดความชื้น และไม่เกิดปฏิกิริยากับกระดาษ )
- ตัดกระดาษขาวชนิดมันให้มีความกว้าง 2.5 เซนติดเมตร และยาวพอสมควร พับครึ่งตามยาวให้มีลักษณะเป็นราง
- เทของแข็งที่ต้องการลงในรางกระดาษ
- ค่อย ๆ เอียงรางกระดาษเทสารออกจากรางกระดาษลงในหลอดทดลองและเคาะรางกระดาษเบา ๆ เพื่อให้สารไหลลงไปในหลอดทดลอง
3. การถ่ายสารเคมีที่เป็นของเหลว
สารเคมีที่เป็นของเหลวส่วนใหญ่จะบรรจุอยู่ในขวดหรือภาชนะเฉพาะที่เหมาะสมสำหรับสารเหล่านั้น ในที่นี้จะกล่าวถึงการถ่ายเทสารเคมีจากขวดเก็บสารและการถ่ายเทสารเคมีจากภาชนะที่ใช้ถ่ายสารมาครั้งหนึ่งแล้ว เช่น บีกเกอร์ ซึ่งแต่ละวิธีมีรายละเอียดดังนี้
1. การถ่ายเทของเหลวจากขวด 
ขวดใส่สารเคมีที่เป็นของเหลวจะมีทั้งชนิดที่เป็นฝาเกลียวและชนิดเปิดด้วยจุก การเปิดฝาหรือจุก และถ่ายเทสารจากขวดลงสู่ภาชนะมีดังนี้
ก. การถ่ายเทสารจากขวดชนิดเปิดด้วยจุก เอียงขวดและหมุนให้ของเหลวซึมเปียกรอบจุกขวดบริเวณที่สัมผัสกับปากขวดเพื่อให้ปิดจุกขวดได้ง่าย ค่อย ๆ หมุนจุกไปรอบ ๆ จนแน่ใจว่าไม่ติดแน่นกับปากขวด เผยอจุกขึ้นแล้วปิดไว้ตามเดิม หงายมือขึ้นและใช้นิ้วกลางกับนิ้วนางคีบจุกขวดยกขึ้นมาแล้วใช้มือที่คีบจุกจับขวดสาร โดยให้ป้ายชื่ออยู่ในตำแหน่งที่อ่านได้ตลอดเวลา อีกมือหนึ่งจับภาชนะรองรับของเหลว ยกขวดขึ้นและเอียงจนของเหลวไหลลงภาชนะได้ตามต้องการ ในกรณีที่ฝาขวดแบนอาจจะเปิดฝาและวางหงายลงบนโต๊ะก่อนรินสารก็ได้
ข. การถ่ายเทสารจากขวดชนิดฝาเกลียว หมุนฝาเพื่อคลายเกลียวจนหลุดออกจากปากขวด วางฝาหงายกับพื้นโต๊ะ และเทหรือรินสารด้วยวิธีการที่เหมาะสม
ในการถ่ายเทของเหลวจากขวดสารลงสู่ภาชนะโดยตรงนั้น บางครั้งไม่สะดวกจึงควรใช้วิธีให้สารไหลผ่านแท่งแก้วโดยใช้แท่งแก้วที่สะอาดและแห้งแตะปากขวดสาร แล้วเทสารให้ไหลไปตามแท่งแก้วลงสู่ภาชนะ จนได้ปริมาตรตามต้องการ การถ่ายเทสารวิธีนี้จะช่วยป้องกันไม่ให้สารไหลหกลงมาตามข้างขวดอีกด้วย
2. การถ่ายเทของเหลวจากบีกเกอร์ ทำได้ 2 วิธี คือ
วิธีที่ 1
- จับแท่งแก้วแตะกับปากบีกเกอร์
- เอียงบีกเกอร์ให้ของเหลวไหลตามแท่งแก้วลงสู่ภาชนะที่รองรับ
วิธีที่ 2
- วางพาดแท่งแก้วบนปากบีกเกอร์
- ใช้มือจับบีกเกอร์พร้อมใช้นิ้วชี้กดแท่งแก้วเบา ๆ 
- เอียงบีกเกอร์ให้ของเหลวไหลตามแท่งแก้วลงสู่ภาชนะที่รองรับโดยให้ปากบีกเกอร์อยู่ภายในบริเวณของปากภาชนะที่รองรับ
ในกรณีที่ภาชนะรองรับมีปากแคบ เช่น ขวดวัดปริมาตร หรือขวดใส่สาร ควรใช้กรวยช่วยในการถ่ายเทสารด้วย
3. การถ่ายเทของเหลวจากกระบอดตวง
เมื่อใช้กระบอกตวง ตวงสารให้มีปริมาตรตามต้องการแล้ว การถ่ายเทสารจากกระบอกตวงลงสู่ภาชนะอีกใบหนึ่ง ทำได้โดยเอียงกระบอกตวงให้แตะกับปากภาชนะที่รอบรับ เช่น บีกเกอร์ แล้วเทของเหลวอย่างช้า ๆ ลงไปจนหมดกระบอกตวง
ข้อเสนอแนะ ในขณะทำปฏิบัติการ
1. การเทของเหลวจากขวดใส่ภาชนะเพื่อนำมาตวงหรือวัดปริมาตร ควรเทของเหลวให้มีปริมาตรมากกว่าที่ต้องการใช้เล็กน้อย
2. ของเหลวที่รินออกมาจากภาชนะบรรจุแล้วห้ามเทส่วนที่เหลือกลับคืนภาชนะเดิม
3. ถ้ามีสารเหลืออยู่มากอาจใส่ไว้ในภาชนะใหม่ เขียนชื่อของสารและรายละเอียดอื่น ๆ ที่จำเป็นพร้อมกับระบุไว้ว่าเป็นสารที่เหลือใช้ซึ่งถ่ายเทจากภาชนะบรรจุ
4. เมื่อถ่ายเทสารจากขวดเสร็จเรียบร้อยต้องปิดฝาหรือจุกทันที ห้ามวางขวดสารเคมีทิ้งไว้โดยไม่ปิดฝา และก่อนปิดต้องแน่ใจว่าฝาที่ปิดไม่สลับกันกับขวดอื่น

การวัดความสูงและความยาว

การที่จะใช้อุปกรณ์วัดความยาวและความสูงได้ถูกวิธีและอ่านมาตราส่วนได้ถูกต้องทำได้โดยให้ตาอยู่ตั้งฉากกับขีดบอกความยาวหรือความสูงนั้น

การระเหยสาร

การให้ความร้อนแก่ของเหลวที่ไม่ติดไฟ

การ ให้ ความ ร้อน ของ เหลว ใด ๆ ผู้ ทด ลอง จะ ต้อง ทราบ ว่า ของ เหลว นั้น ติด ไฟ ง่ายหรือ ไม่ เมื่อ กลาย เป็น ไอ ดัง นั้น การ ต้ม หรือ การ ให้ ความ ร้อน แก่ ของ เหลว จึง ควร ระวัง ให้ มาก เพราะ อาจ มี อันตราย เกิด ขึ้น ได้ ง่าย เทคนิค ที่ จะ กล่าว ต่อ ไป นี้ เป็น การ ให้ ความ ร้อน ของ เหลว ที่ ไม่ ติด ไฟ
1. เมื่อ ของ เหลว อยู่ ใน หลอด ทด ลอง ควร ปฏิบัติ ดัง นี้
1.1 ปริมาตร ของ ของ เหลว ไม่ ควร เกิน ครึ่ง หนึ่ง ของ หลอด ทด ลอง
1.2 ถือ หลอด ทด ลอง ด้วย ที่ จับ หลอด ทด ลอง อย่า จับ หลอด ทด ลอง ด้วย นิ้ว มือ โดย ตรง (ถ้า ไม่ มี ที่ จับ หลอด ทด ลอง อาจ ใช้ กระดาษ แผ่น เล็ก ๆ ยาว ๆ พัน รอบ ปาก หลอด ทด ลอง หลาย ๆ รอบ แล้ว ใช้ นิ้ว หัว แม่ มือกับนิ้ว ที่ จับ กระดาษ ก็ ได้)
1.3 นำ หลอด ทด ลอง ไป ให้ ความ ร้อน โดย ตรง จาก เปลว ไฟ ควร ใช้ เปลว ไฟ อ่อน ๆ และ เอียง หลอด ทด ลอง เล็ก น้อย พยายาม ให้ ส่วน ที่ เป็น ของ เหลว ใน หลอด ทด ลอง ถูก เปลว ไฟ ที ละ น้อย พร้อม แกว่ง หลอด ทด ลอง ไป มา เมื่อ ของ เหลว ร้อน จะ ระเหย กลาย เป็น ไอ
ข้อ ควร ระวัง การ ต้ม ของ เหลว ใน หลอด ทด ลอง มี ข้อ ที่ ควร ระ มัด ระวัง ดัง นี้
1. ขณะ ให้ ความ ร้อน หลอด ทด ลอง จะ ต้อง หัน ปาก หลอด ทด ลอง ออก จาก ตัว เรา และ ชี้ ไป ใน ทิศ ทางที่ ไม่ มี ผู้ อื่น หรือ สิ่ง ของ อยู่ ใกล้ ๆ ทั้ง นี้ เพราะ เมื่อ ของ เหลว เดือด อาจ จะ พุ่ง ออก มาน อก หลอด ทด ลอง ทำ ให้ เกิด อันตราย ได้
2. อย่า ก้ม ดู ของ เหลว ใน หลอด ทด ลอง ขณะ กำลัง ให้ ความ ร้อน เป็น อัน ขาด เพราะ ถ้า ของ เหลว พุ่ง ออก มา อาจ เป็น อันตราย ต่อ ใบ หน้า และ นัย ตา ได้
3. ขณะ ให้ ความ ร้อน แก่ ของ เหลว ใน หลอด ทด ลอง ต้อง แกว่ง หลอด ทด ลอง ไป ด้วย เพื่อ ให้ ของ เหลว ใน หลอด ทด ลอง เคลื่อน ไหวและ ได้ รับ ความ ร้อน เท่า เทียม กัน ทุก ส่วน และ ยัง ช่วย ป้อง กัน ของ เหลว พุ่ง ออก มา ด้วย

2. เมื่อ ของ เหลว อยู่ ในบีกเกอร์หรือฟลาส มี วิธี ทำ ดัง นี้
1. นำบีกเกอร์ตั้ง บน ตะ แกง ลวด ซึ่ง วาง อยู่ บน สาม ขา หรือ ที่ ยึด วง แหวน
2. ให้ ความ ร้อน โดย ใช้ ตะเกียง ก๊าซ

การใช้เครื่องชั่ง

การ ที่ จะ เลือก ใช้เครื่องชั่ง ชนิด ใด ใน การ ทด ลอง ให้ เหมาะ สม นั้น ขึ้น อยู่กับว่า การ ทด ลอง นั้น ต้อง การ ความ ถูก ต้อง มาก น้อย แค่ ไหน การ ใช้เครื่องชั่ง ต้อง มี การ ระวัง และ รักษา ให้ ดี เพื่อ ป้อง กัน การ ชำรุด เสีย หาย ของเครื่องชั่ง ซึ่ง ทำ ให้ น้ำ หนัก คลาด เคลื่อน จน ไม่ สามารถ นำ มา ใช้ งาน ได้ ดัง นั้น ทุก ครั้ง ที่ ใช้เครื่องชั่ง ผู้ ใช้ ควร ปฏิบัติ ดัง นี้
1. เครื่องชั่ง ต้อง ตั้ง อยู่ ที่ บน ที่ แน่น หนา มั่น คง อย่า ให้ มี การ สะเทือน ไม่ ควร ตั้ง รอม หน้า ต่าง หรือ ใกล้ ความ ร้อน อย่า ให้ แสง แด ส่อง ถูกเครื่องชั่ง โดย ตรง และ ฐาน ของเครื่องชั่ง ต้อง อยู่ ใน แนว ระนาบ
2. ก่อน ชั่ง ตรง ปรับ ให้ เข็ม ของเครื่องชั่ง อยู่ ที่ ขีด 0 พอ ดี และ ขณะ ชั่ง ต้อง นั่ง ตรง กึ่ง กลาง ของเครื่องชั่ง เสมอ เพื่อ ไม่ ให้ การ อ่าน น้ำ หนัก ผิด พลาด
3. ห้าม วาง สาร เคมี ที่ จะ ชั่ง บน จานเครื่องชั่ง โดย ตรง เพราะ สาร เคมี อาจ ทำ ให้ จาน ชำรุด เสีย หาย ได้ ต้องใส้สาร เคมี บน กระจก นาฬิกา หรือ ขวด ชั่ง สาร เสมอ อย่า ใช้ กระดาษ รอง สาร เคมี ใน การ ชั่ง สาร เคมี อย่าง เด็ด ขาด
4. การ ชั่ง สาร ที่ กัด โลหะ ต้อง ใส่ สาร ใน ขวด ชั่ง สาร ที่ มี ฝา ปิด มิด ชิด
5. ห้าม นำ วัตถุ หรือ สาร เคมี ที่ ยัง ร้อน อยู่ ไป ชั่ง วัตถุ ที่ นำ มา ชั่ง ต้อง มี อุณหภูมิ เท่ากับอุณหภูมิ ของ ห้อง
6. ห้าม ใช้ มือ หยิบ ตุ้ม น้ำ หนัก หรือ วัตถุ ที่ จะ ชั่ง เพราะ น้ำ หนัก อาจ เปลี่ยน แปลง เนื่อง จาก เหงื่อ ที่ ติด อยู่ ที่ นิ้ว มือ ต้อง ใช้ ปาก คีบ หยิบ ตุ้ม น้ำ หนัก หรือ ใช้ กระดาษ พับ เป็น แผ่น เล็กๆ คาด รอบ ขวด ชั่ง หรือ ตุ้ม น้ำ หนัก เสมอ
7. เมื่อ ชั่ง น้ำ หนัก ของ สาร เสร็จ เรียบ ร้อย แล้ว ต้อง เก็บ ตุ้ม น้ำ หนัก และ แผ่น น้ำ หนัก หรือ เลื่อน ตุ้ม น้ำ หนัก มา อยู่ ที่ ขีด 0 รวม ทั้ง เก็บ วัตถุ ที่ นำ มา ชั่ง ออก จากเครื่องชั่ง ให้ หมด ถ้า หาก มี สาร เคมี หก อยู่ บน จาน หรือ พื้นเครื่องชั่ง ต้อง ทำ ความ สะอาด โดย ทัน ที
8. อย่า ชั่ง สาร ที่ มี น้ำ หนัก มาก กว่า ความ สามารถ ของเครื่องชั่ง โดย ปกติเครื่องชั่ง ใน ห้อง ทด ลอง จะ ชั่ง ได้ ตั้ง แต่ 100 ถึง 200 กรัม ซึ่ง ผู้ ผลิต จะ ระบุ อัตรา ไว้
9. ต้อง รักษาเครื่องชั่ง ให้ สะอาด อยู่ เสมอ หลัง จาก ใช้ ทุก ครั้ง ควร คลุมเครื่องชั่ง เพื่อ ป้อ งกัน ฝุ่น ละออง

การทำความสะอาดเครื่องแก้ว

เครื่องแก้วที่ใช้ในการทดลองมีความจำเป็นต้องล้างให้สะอาดจริง ๆ มิฉะนั้นอาจทำให้ผลการทดลองผิดพลาดไปได้ การสังเกตว่าเครื่องแก้วนั้นล้างสะอาดหรือไม่ ทำได้โดยการจุ่มเครื่องแก้วลงในน้ำหรือราดด้วยน้ำ ถ้าเครื่องแก้วไม่มีหยดน้ำเกาะติดที่ผนังเครื่องแก้ว แต่แผ่เป็นแผ่นฟิล์มทั่วไปหมดทั้งผนังนั้น จึงจะถือว่าเครื่องแก้วนั้นสะอาด สารที่นิยมใช้ล้างเครื่องแก้วให้สะอาดมีดังนี้ คือ
- น้ำสบู่ หรือสารซักล้าง
- สารละลายโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ ในแอลกอฮอล์ เตรียมโดยสารละลายโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ในเอธานอลจนเป็นสารละลายอิ่มตัวแล้วใส่ขวดแก้วสีชาเก็บไว้
วิธีล้างเครื่องแก้ว ควรปฏิบัติดังนี้
- ขั้นแรก ควรใช้สบู่หรือสารซักล้างและน้ำล้างเครื่องแก้ว โดยเมื่อใช้แล้วต้องล้างออกให้หมดด้วยน้ำประปาหรือน้ำสะอาด
- ขั้นที่สอง เมื่อไม่สามารถใช้สบู่หรือสารซักล้างออกได้หมด จึงใช้สารละลายโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ในแอลกอฮอล์ซึ่งมีความสามารถในการละลายคราบไขมันและสารอินทรีย์ได้ดี หลังจากนั้นให้ล้างด้วยน้ำสะอาด เนื่องจากสารละลายนี้สามารถทำให้แก้วสึกก่อนได้ถ้าแช่แก้วทิ้งไว้ในสารละลายนี้นาน ๆ 
- เครื่องแก้วที่ล้างสะอาดแล้ว ให้คว่ำลงบนผ้าหรือที่ชั้นคว่ำเครื่องแก้ว เพื่อทิ้งไว้ให้แห้ง ห้ามใช้กระดาษเยื่อหรือผ้าเช็ด

การนำของแข็งออกจากขวด

การ นำ สาร ที่ เป็น ของ แข็ง ออก จาก ขวด มี วิธี ทำ ได้ หลาย วิธี จะ ขอ แยก กล่าว ตาม ลำ ดับ ดัง นี้
วิธี ที่ 1 วิธี นี้ ใช้กับขวด ที่ ด้าน ใน ของ จุก ปิด มี ช่อง ว่าง สามารถ ใส่ สาร ได้ มี วิธี ทำ ดัง นี้
1. เอียง ขวด ใน ตำแหน่ง ที่ เหมาะ สม แล้ว หมุน ขวด ไป มา เพื่อ ให้ สาร เข้า ไป ใน ช่อง ว่าง ของ จุก ขวด ถ้า ของ แข็ง ใน ขวด นั้น ติด แน่น อาจ ต้อง เขย่า ขวด เบา ๆ เพื่อ ให้ พื้น ผิว ของ ของ แข็ง นั้น แตก ออก หรือ อาจ จะ เปิด ฝา ขวด ออก ก่อน แล้ว ใช้ ช้อน ที่ สะอาด ขูด ให้ พื้น ผิว ของ สาร แตก ออก ก่อน ก็ ได้

2. ถือ ขวด ใน ตำแหน่ง ที่ เหมาะ สม ระวัง อย่า ให้ สาร หก เมื่อ เปิด จุก ขวด ออก ซึ่ง ใน จุก จะ มี สาร อยู่ ด้วย

3. วาง ขวาด ใส่ สาร ลง บน โต๊ะ เอียง จุก ขวด เพื่อ เท สาร ออก อาจ ใช้ ดิน สอ หรือ นิ้ว มือ เคาะ ที่ จุก ขวด เพื่อ ให้ สาร นั้น หล่น ลง มา ยัง ภาชนะ รอง รับ หรือ ใช้ ช้อน ตวง ขนาด เล็ก ตัก ออก ก็ ได้

4. ทำ ซ้ำ จน กว่า จะ ได้ ปริมาณ ของ สาร ตาม ต้อง การ
5. เมื่อ ได้ ปริมาณ ของ สาร ตาม ที่ ต้อง การ แล้ว หาก มี สาร เหลือ อยู่ ใน จุก ขวด ให้ เท สาร กลับ เข้า ไว้ ใน ขวด ได้ เพราะ สาร ที่ เหลือ นี้ ไม่ ได้ สัมผัสกับสิ่ง หนึ่ง สิ่ง ใด เลย จึง มี ความ บริสุทธิ์ เหมือนเดิ
6. ปิด จุก ขวด
 

วิธี ที่ 2 วิธี นี้ ใช้กับขวด ด้าน ใน ไม่ มี ช่อง ว่าง ที่ จะ ใส่ สาร ได้ ใน กรณี นี้ จำ เป็น จะ ต้อง ใช้ ช้อน ตวง ตัก สาร ออก มา จาก ขวด มี วิธี การ ดัง นี้
1. หมุน จุก ขวด เบา ๆ เพื่อ ให้ หลวม แล้ว เปิด ออก ถ้า จุก ขวด มี ส่วน บน แบน เรียบ ให้ วาง หงาย บน พื้น โต๊ะ ที่ เรียบ และ สะอาด แต่ ถ้า จุก ขวด มี ลักษณะ อื่น ห้าม วาง จุก ขวด ลง บน โต๊ะ อย่าง เด็ด ขาด จะ ต้อง ถือ จุก ขวด ไว้
2. ใช้ ช้อน ตวง ที่ สะอาด ตัก สาร ออก จาก ขวด

3. ถือ ช้อน ที่ มี สาร ออก จาก ขวด เบา ๆ เพื่อ ไม่ ให้ สาร หก นำ มา ใส่ ภาชนะ ที่ รอง รับ จน ได้ ปริมาณ ตาม ต้อง การ
4. ปิด จุก ขวด

วิธี ที่ 3 ใน กรณี ที่ ไม่ สามารถ จะ ใช้ วิธี ที่ 1 และ วิธี ที่ 2 เพื่อ นำ สาร ที่ เป็น ของ แข็ง ออก จาก ขวด ได้ ก็ อาจ ใช้ วิธี ที่ 3 ซึ่ง มี วิธี ทำ เป็น ขั้น ๆ ดัง นี้
1. ทำ ให้ ขวด ใส่ สาร สะเทือน เล็ก น้อย โดย การ เคาะ เบา ๆ กับพื้น โต๊ะ เพื่อ ให้ สาร ใน ขวด เคลื่อน ไหวและ เกาะ กัน อย่าง หลวม ๆ
2. เปิด จุก ขวด และ วาง จุก ขวด หงาย ขึ้น บน พื้น ที่ เรียบ และ สะอาด
3. ยก ขวด ใส่ สาร ขึ้น เหนือ ภาชนะ ที่ จะ ใส่ สาร เอียง ขวด สาร แล้ว หมุน ขวด ไป มา เพื่อ ให้ สาร ตก ลง มา ยัง ภาชนะ ที่ รอง รับ จน ได้ ปริมาณ ตาม ต้อง การ
4. ปิด จุก ขวด

การผสมสารละลายในหลอดทดลอง

 วิธี ที่ 1 การก วน สาร ละ ลาย ด้วย แท่ง แก้ว เป็น การก วน ของ แข็ง ให้ ละ ลาย ใน เนื้อ เดียว กันกับสาร ละ ลาย หรือ เป็น การก วน ให้ สาร ละ ลาย ผสม กัน โดย ใช้ แท่ง แก้ว การก วน สาร ละ ลาย ต้อง กวน ไป ใน ทิศ ทางเดียว และ ระวัง อย่า ให้ แท่ง แก้ว กระ ทบกับข้าง หลอด ทด ลอง หรือ ก้น หลอด ทด ลอง เพราะ จะ ทำ ให้ หลอด ทด ลอง ทะลุ ได้หาก เป็น การ ผสม สาร ละ ลาย ที่ มี จำนวน มาก ก็ ควร ใช้ ปีก เกอร์แทน หลอด ทด ลอง และ ใช้ เทคนิค การก วน สาร ละ ลาย เช่น เดียว กัน

วิธี ที่ 2 การ หมุน สาร ละ ลาย ด้วย ข้อ มือ เป็น เทคนิค การ ผสม สาร ละ ลาย ใน หลอด ทด ลอง กระบอก ตวง หรือฟลาสให้ มี ลักษณะ เป็น เนื้อ เดียว กัน ทุก ส่วน วิธี หนึ่ง โดย ใช้ มือ จับ ทางส่วน ปลาย ของ อุปกรณ์ ดัง กล่าว แล้ว หมุน ด้วย ข้อ มือ ให้ สาร ละ ลาย ข้าง ใน ไหล วน ไป ทิศ ทางเดียว กัน

การผสมสารในหลอดทอลง

 

 

Power By &