การใช้แว่นขยาย | การให้ความร้อนแก่ของเหลว |
การเขย่าหลอดทดลอง | การใช้กระดาษลิตมัส |
การใช้ที่หนีบหลอดทดลอง | การดมกลิ่นสาร |
การถ่ายเทสารเคมี | การวัดความสูงและความยาว |
สารเคมีที่ไม่ใช้แล้วเนื่องจากการเสื่อมสภาพเพราะหมดอายุการใช้งาน
สารเคมีที่เป็นของเสียจากการทดลอง
และสารที่ไม่มีฉลากกำกับหรือฉลากกำกับชำรุดเสียหาย
ไม่ควรเก็บสะสมไว้เพราะอาจมีการนำกลับมาใช้อีกครั้งโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ได้
สารเคมีที่ไม่ต้องการใช้เหล่านี้ไม่ว่ามีปริมาณมากน้อยเพียงใด
เมื่อต้องการกำจัดจะต้องทำให้ถูกวิธีและหลักการเสมอ
มิฉะนั้นจะก่อให้เกิดอันตรายต่อตนเองและผู้อื่น
นอกจากนี้ยังอาจทำให้เกิดมลพิษต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมได้อีกด้วย สารเคมีแต่ละชนิดจะมีสมบัติแตกต่างกัน การกำจัดจึงต้องเลือกทำด้วยวิธีการที่เหมาะสม ด้วยวิธีการต่อไปนี้ 1. ค่อย ๆ เติมสารเคมีนั้นอย่างช้า ๆ ลงบนโซดาแอช หรือปูนขาวที่แห้งและมากเกินพอแล้วจึงนำไปฝังดิน 2. ใช้สารอื่นดูดซับแล้วเก็บรวบรวมเพื่อนำไปเผา ( ในกรณีที่เป็นของเหลวระเหยง่าย อาจใช้ขี้เลื่อยดูดซับ ) 3. ผสมกับทรายหรือปูนขาวแล้วนำไปฝังดิน 4. ทำให้เจือจางด้วยน้ำปริมาณมาก ๆ แล้วปล่อยลงสู่ท่อระบายน้ำ 5. ละลายในกรดหรือเบสเพื่อทำลายสมบัติหรือทำให้สะเทิน แล้วทำให้เจือจางด้วยน้ำก่อนปล่อยลงสู่ท่อระบายน้ำ 6. สารละลายในตัวทำละลายที่ติดไฟได้ เช่น แอลกอฮอล์ แล้วเผาในเตาเผาขยะ 7. ผสมกับตัวรีดิวซ์ที่เหมาะสม แล้วทำให้เจือจางด้วยน้ำปริมาณมากเกินพอก่อนปล่อยลงสู่ท่อระบายน้ำ 8. เผาในหลุมดินพร้อมกับกระดาษหรือไม้แล้วกลบให้มิดชิด 9. ใช้วิธีการเฉพาะกับสารเคมีซึ่งต้องใช้คำปรึกษาจากผู้แทนจำหน่าย |
|
ทำได้โดยการใช้แท่งแก้วคนสารโดยต้องระมัดระวังไม่ให้แท่งแก้วกระทบด้านข้างและก้นของภาชนะ เมื่อใช้แล้วทุกครั้งจะต้องล้างแท่งแก้ว เช็ดให้แห้งแล้วเก็บเข้าที่ และต้องไม่ใช้แท่งแก้วไปคนสารต่างชนิดกันในภาชนะต่างกันก่อนทำความสะอาด | |
เมื่อจะตรวจดูรายละเอียดของวัตถุด้วยแว่นขยายโดยทั่วไป ต้องถือแว่นขยายให้ชิดกับตาข้างหนึ่ง แล้วเลื่อนวัตถุจนมองเห็นได้ชัดที่สุด ห้ามขูดขีดแว่นขยาย เมื่อใช้เสร็จแล้วต้องเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย |
แบ่งตามสมบัติของของเหลวได้เป็น 1. ของเหลวชนิดไวไฟซึ่งมีจุดเดือดต่ำ ส่วนมากจะบรรจุในภาชนะปากแคบและทรงสูง เช่น หลอดทดลองหรือขวดรูปกรวย ไม่ควรใส่ในบีกเกอร์ขณะให้ความร้อน และห้ามใช้เปลวไฟให้ความร้อนโดยตรง วิธีที่ถูก คือ ให้อุ่นในภาชนะที่ใส่น้ำและต้มให้เดือดด้วยไออ่อน ๆ และควรระวังไม่ให้ของเหลวที่ไวไฟนั้นเดือดล้นหรือกระเด็นหกออกมาโดนเปลวไฟ เพราะอาจติดไฟและเป็นอันตรายได้ การให้ความร้อนแก่สารไวไฟนี้ควรทำในห้องโล่งหรืออากาศถ่ายเทได้สะดวก เพราะในที่ที่อากาศไม่ถ่ายเท เมื่อของเหลวได้รับความร้อนจะกลายเป็นไอสะสมอยู่บริเวณนั้น ถ้ามีมาก ๆ อาจติดไฟหรือระเบิดได้ 2. ของเหลวชนิดไม่ไวไฟ ใช้บรรจุในภาชนะได้หลายชนิดตามจุดประสงค์ และปริมาณของสาร เช่น ชามกระเบื้อง หลอดทดลอง ขวดรูปกรวย หรือบีกเกอร์ เป็นต้น การให้ความร้อนแก่ของเหลวในชามกระเบื้องและหลอดทดลองค่อนข้างเป็นอันตรายกว่าในขวดรูปกรวยหรือบีกเกอร์ จึงต้องระมัดระวังและปฏิบัติดังนี้ สำหรับชามกระเบื้องไม่ควรใส่ของเหลวมากเกินไป ควรคนตลอดเวลาเพื่อป้องกันการเดือดและกระเด็น สำหรับหลอดทดลองไม่ควรใส่ของเหลวเกินครึ่งหลอด และควรใช้เปลวไฟอ่อน ๆ โดยใช้ที่จับหลอดทดลองจับหลอดให้อยู่ในลักษณะเอียงประมาณ 45 องศา เขย่าเล็กน้อย และหันปากหลอดไปทางด้านที่ไม่มีคน สิ่งสำคัญที่ควรปฏิบัติในการให้ความร้อนแก่สารเคมี คือ เมื่อไม่ต้องการใช้ความร้อนหรือสังเกตพบว่าอุณหภูมิมากจนทำให้สารเดือดแรงเกินไป ให้ดับตะเกียงหรือเลื่อนตะเกียงออกทุกครั้ง หรือถ้าหยิบภาชนะใส่สารออกจากเปลวไฟได้สะดวกกว่าเลื่อนหรือดับตะเกียง ก็ให้เลื่อนภาชนะใส่สารออกจากเปลวไฟ |
การเขย่าหลอดทดลองทำได้โดยใช้มือจับหลอดทดลองแล้วเขย่าให้ส่วนล่างของหลอดทดลองกระแทกกับฝ่ามืออีกข้างหนึ่งเบา ๆ |
กระดาษลิตมัสมีไว้สำหรับทดสอบความเป็นกรด - เบส ของสาร การใช้กระดาษลิตมัสต้องใช้ทีละแผ่น โดยตัดขนาดพอเหมาะกับที่จะใช้ มือที่หยิบต้องสะอาดและแห้ง ถ้าจะทดสอบกับของเหลว ต้องวางกระดาษลิตมัสบนถ้วยกระเบื้อง แผ่นกระจก หรือกระดาษที่สะอาด แล้วใช้แท่งแก้วสะอาดจุ่มของเหลวมาแตะ |
การใช้ไม้หนีบกับหลอดทดลอง ต้องหนีบที่ระยะประมาณ 1 ใน 3 จากปากหลอดทดลอง เมื่อหนีบบีกเกอร์หรือถ้วยกระเบื้องจะต้องหนีบให้ลึก และขณะถือต้องไม่ออกแรงกดไม้หนีบ ส่วนในกรณีที่ใช้ยึดกับขาตั้งเพื่อหนีบเทอร์มอมิเตอร์ จะต้องใช้เศษผ้าหรือกระดาษชำระหุ้มเทอร์มอมิเตอร์ให้แน่นเสียก่อน |
สารเคมีหลายชนิดมีกลิ่นเฉพาะตัว
การดมกลิ่นอาจช่วยบอกชนิดของสารบางชนิดได้
ไอ กลิ่น
ที่ออกมาจากสารเคมีบางชนิดมีอันตราย
ดังนั้น
จึงควรระมัดระวังในการดมกลิ่นสาร ข้อควรปฏิบัติในการดมกลิ่นสาร มีดังนี้ - อย่าสูดดมกลิ่นของสาร ไอ หรือควันโดยตรง - ควรใช้มือข้างหนึ่งถือภาชนะ โดยให้ปากภาชนะอยู่ในระดับต่ำกว่าจมูกและอยู่ห่างจากจมูกพอสมควร ใช้มืออีกข้างหนึ่งโบกให้ไอของสารผ่านเข้าจมูกช้า ๆ |
ในการทำการทดลองทางเคมีจะต้องมีการถ่ายเทสารเพื่อนำมาใช้ในการทดลอง
สารเคมีที่ใช้ในห้องปฏิบัติการมีทั้ง
3 สถานะ คือ ของแข็ง ของเหลว
และก๊าซ
ในที่นี้จะศึกษาเฉพาะวิธีถ่ายเทสารที่เป็นของแข็งและของเหลว
ซึ่งใช้กันอยู่เป็นส่วนใหญ่ในการทดลองระดับมัธยมศึกษา
ปกตดสารที่เป็นของแข็งมักบรรจุอยู่ในขวดหรือภาชนะปากกว้าง
ส่วนสารที่เป็นของเหลวมักบรรจุในขวดปากแคบ
การถ่ายเทสารจากภาชนะบรรจุเพื่อนำไปใช้งานต้องทำอย่างถูกวิธีด้วยความระมัดระวัง
เพื่อป้องกันการเกิดมลพิษกับสารและเกิดอันตรายกับผู้ใช้
และเมื่อตักหรือเทสารใช้แล้วต้องปิดจุกให้แน่นเพื่อป้องกันความชื้นและฝุ่นละออง
ก่อนนำสารไปใช้ทุกครั้งต้องอ่านชื่อสารบนขวดให้แน่ใจว่าเป็นสารชนิดที่ต้องการ หมายเหตุ : ในการถ่ายเทสารบางครั้ง อาจจะต้องใช้ภาชนะหรือวัสดุรองรับสาร ภาชนะที่ใช้รองรับสารอาจเป็นบีกเกอร์ขนาดเล็ก ถ้วยกระะเบื้อง กระจกนาฬิกา หรืออาจใช้สิ่งรองรับอื่น เช่น กระดาษเคลือบไขสำหรับใช้ชั่งสาร หรือกระดาษขาวที่ผิวมัน แต่ไม่ควรใช้กระดาษกรอง เพราะสารอาจจะติดที่กระดาษกรองหรือถูกดูดซับไว้ได้ และนอกจากนี้กระดาษกรองยังมีราคาแพงอีกด้วย 1. การถ่ายเทสารเคมีที่เป็นของแข็ง ทำได้หลายวิธี เช่น วิธีที่ 1 - เอียงขวดใส่สาร แล้วหมุนกลับไปมาให้สารในขวดเข้าไปอยู่ในจุกหรือฝาขวด ถ้าสารในขวดเกาะเป็นก้อนแข็ง อาจต้องเขย่าหรือเคาะขวดเล็กน้อยเพื่อให้สารหลุดออกจากกัน ( ถ้าจำเป็นอาจต้องเปิดขวดแล้วใช้ช้อนที่สะอาดขูดหรือบดให้เป็นผงร่วน ) - เปิดจุกขวดออกพร้อมกับตั้งขวดขึ้น โดยให้สารส่วนหนึ่งค้างอยู่ในจุกขวด - วางขวดลงบนโต๊ะ และเอียงจุกขวดที่มีสารติดค้างอยู่ลงบนภาชนะที่จะใส่สารใช้นิ้วมือหรืดินสอเคาะจุกขวดเบา ๆ เพื่อให้สารหลุดออกจากจุกขวดหรือฝาขวดตามบริเวณที่ต้องการ วิธีที่ 2 - ค่อย ๆ เปิดจุกขวด หงายจุกวางไว้บนโต๊ะ - ใช้ช้อนตักสารที่แห้งและสะอาดตักสารในขวดและใช้นิ้วมือหรือก้านดินสอเคาะก้านช้อนเบา ๆ เพื่อเทสารในช้อนออกตามปริมาณที่ต้องการ ถ้าเป็นช้อนที่มีเบอร์สำหรับตวงสารปริมาณต่าง ๆ กันให้ตักสารก่อนแล้วจึงใช้ด้ามช้อนอีกด้ามหนึ่งปาดผิวหน้าให้เรียบโดยไม่ต้องกดให้แน่นจะได้สาร 1 ช้อนในปริมาณตามเบอร์นั้น ๆ วิธีที่ 3 - เคาะก้นขวดกับโต๊ะเบา ๆ พร้อมกับหมุนขวดไปมาเพื่อให้สารที่เกาะกันเป็นก้อนภายในขวดหลุดออกจากกัน - เปิดจุกขวดออกวางหงายบนโต๊ะ - เอียงขวดพร้อมกับหมุนไปมาเพื่อเทสารออกจากขวดทีละน้อยจนได้ปริมาณตามต้องการ ( ถ้าจำเป็นอาจใช้แท่งแก้วที่แห้งและสะอาดช่วยเขี่ยสารให้ไหลออกมาตามต้องการ ) 2. การถ่ายเทสารเคมีที่เป็นของแข็งลงในหลอดทดลอง วิธีที่ 1 - ใช้ช้อน ( สำหรับตวงสาร ) ที่แห้งและสะอาด ตักสารออกจากขวด แล้วสอดช้อนเข้าในหลอดทดลองพร้อมกับเทสารออกจากช้อนลงสู่หลอดทดลอง วิธีที่ 2 ( ใช้ในกรณีที่สารไม่ดูดความชื้น และไม่เกิดปฏิกิริยากับกระดาษ ) - ตัดกระดาษขาวชนิดมันให้มีความกว้าง 2.5 เซนติดเมตร และยาวพอสมควร พับครึ่งตามยาวให้มีลักษณะเป็นราง - เทของแข็งที่ต้องการลงในรางกระดาษ - ค่อย ๆ เอียงรางกระดาษเทสารออกจากรางกระดาษลงในหลอดทดลองและเคาะรางกระดาษเบา ๆ เพื่อให้สารไหลลงไปในหลอดทดลอง 3. การถ่ายสารเคมีที่เป็นของเหลว สารเคมีที่เป็นของเหลวส่วนใหญ่จะบรรจุอยู่ในขวดหรือภาชนะเฉพาะที่เหมาะสมสำหรับสารเหล่านั้น ในที่นี้จะกล่าวถึงการถ่ายเทสารเคมีจากขวดเก็บสารและการถ่ายเทสารเคมีจากภาชนะที่ใช้ถ่ายสารมาครั้งหนึ่งแล้ว เช่น บีกเกอร์ ซึ่งแต่ละวิธีมีรายละเอียดดังนี้ 1. การถ่ายเทของเหลวจากขวด ขวดใส่สารเคมีที่เป็นของเหลวจะมีทั้งชนิดที่เป็นฝาเกลียวและชนิดเปิดด้วยจุก การเปิดฝาหรือจุก และถ่ายเทสารจากขวดลงสู่ภาชนะมีดังนี้ ก. การถ่ายเทสารจากขวดชนิดเปิดด้วยจุก เอียงขวดและหมุนให้ของเหลวซึมเปียกรอบจุกขวดบริเวณที่สัมผัสกับปากขวดเพื่อให้ปิดจุกขวดได้ง่าย ค่อย ๆ หมุนจุกไปรอบ ๆ จนแน่ใจว่าไม่ติดแน่นกับปากขวด เผยอจุกขึ้นแล้วปิดไว้ตามเดิม หงายมือขึ้นและใช้นิ้วกลางกับนิ้วนางคีบจุกขวดยกขึ้นมาแล้วใช้มือที่คีบจุกจับขวดสาร โดยให้ป้ายชื่ออยู่ในตำแหน่งที่อ่านได้ตลอดเวลา อีกมือหนึ่งจับภาชนะรองรับของเหลว ยกขวดขึ้นและเอียงจนของเหลวไหลลงภาชนะได้ตามต้องการ ในกรณีที่ฝาขวดแบนอาจจะเปิดฝาและวางหงายลงบนโต๊ะก่อนรินสารก็ได้ ข. การถ่ายเทสารจากขวดชนิดฝาเกลียว หมุนฝาเพื่อคลายเกลียวจนหลุดออกจากปากขวด วางฝาหงายกับพื้นโต๊ะ และเทหรือรินสารด้วยวิธีการที่เหมาะสม ในการถ่ายเทของเหลวจากขวดสารลงสู่ภาชนะโดยตรงนั้น บางครั้งไม่สะดวกจึงควรใช้วิธีให้สารไหลผ่านแท่งแก้วโดยใช้แท่งแก้วที่สะอาดและแห้งแตะปากขวดสาร แล้วเทสารให้ไหลไปตามแท่งแก้วลงสู่ภาชนะ จนได้ปริมาตรตามต้องการ การถ่ายเทสารวิธีนี้จะช่วยป้องกันไม่ให้สารไหลหกลงมาตามข้างขวดอีกด้วย 2. การถ่ายเทของเหลวจากบีกเกอร์ ทำได้ 2 วิธี คือ วิธีที่ 1 - จับแท่งแก้วแตะกับปากบีกเกอร์ - เอียงบีกเกอร์ให้ของเหลวไหลตามแท่งแก้วลงสู่ภาชนะที่รองรับ วิธีที่ 2 - วางพาดแท่งแก้วบนปากบีกเกอร์ - ใช้มือจับบีกเกอร์พร้อมใช้นิ้วชี้กดแท่งแก้วเบา ๆ - เอียงบีกเกอร์ให้ของเหลวไหลตามแท่งแก้วลงสู่ภาชนะที่รองรับโดยให้ปากบีกเกอร์อยู่ภายในบริเวณของปากภาชนะที่รองรับ ในกรณีที่ภาชนะรองรับมีปากแคบ เช่น ขวดวัดปริมาตร หรือขวดใส่สาร ควรใช้กรวยช่วยในการถ่ายเทสารด้วย 3. การถ่ายเทของเหลวจากกระบอดตวง เมื่อใช้กระบอกตวง ตวงสารให้มีปริมาตรตามต้องการแล้ว การถ่ายเทสารจากกระบอกตวงลงสู่ภาชนะอีกใบหนึ่ง ทำได้โดยเอียงกระบอกตวงให้แตะกับปากภาชนะที่รอบรับ เช่น บีกเกอร์ แล้วเทของเหลวอย่างช้า ๆ ลงไปจนหมดกระบอกตวง ข้อเสนอแนะ ในขณะทำปฏิบัติการ 1. การเทของเหลวจากขวดใส่ภาชนะเพื่อนำมาตวงหรือวัดปริมาตร ควรเทของเหลวให้มีปริมาตรมากกว่าที่ต้องการใช้เล็กน้อย 2. ของเหลวที่รินออกมาจากภาชนะบรรจุแล้วห้ามเทส่วนที่เหลือกลับคืนภาชนะเดิม 3. ถ้ามีสารเหลืออยู่มากอาจใส่ไว้ในภาชนะใหม่ เขียนชื่อของสารและรายละเอียดอื่น ๆ ที่จำเป็นพร้อมกับระบุไว้ว่าเป็นสารที่เหลือใช้ซึ่งถ่ายเทจากภาชนะบรรจุ 4. เมื่อถ่ายเทสารจากขวดเสร็จเรียบร้อยต้องปิดฝาหรือจุกทันที ห้ามวางขวดสารเคมีทิ้งไว้โดยไม่ปิดฝา และก่อนปิดต้องแน่ใจว่าฝาที่ปิดไม่สลับกันกับขวดอื่น |
การที่จะใช้อุปกรณ์วัดความยาวและความสูงได้ถูกวิธีและอ่านมาตราส่วนได้ถูกต้องทำได้โดยให้ตาอยู่ตั้งฉากกับขีดบอกความยาวหรือความสูงนั้น |
|
Power By &